วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

   การเรียนในครั้งนี้อาจารย์ให้นำเสนองานสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยที่สื่อของกลุ่มดิฉันคือ โดมิโน่เรขาคณิต สื่อชิ้นนี้จะสอนเกี่ยวกับการจับคู่รูปเลขาคณิตที่ง่ายๆ โดยที่เอาเกมเข้ามาช่วยให้การเรียนรู้ดูง่ายและมีความสนุกขึ้น

 รูปสื่อทางคณิตศาสตร์







และรูปสื่อของเพื่อนที่ดิฉันชื่นชอบ

นับเลขซูชิ











เหตุผลที่ชอบ

  เพราะ สื่อชิ้นนี้มีรูปร่างและสีสันที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับเด็ก เพราะสีสันจะดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเข้าใกล้ สัมผัส และอยากจะเล่นมากขึ้น สื่อชิ้นนี้ดิฉันเลยชอบเป็นพิเศษคะ


วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 เพื่อเขียนแผนการจัดประสบบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้สอดแทรกวิชาคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรม คือ
- กิจกรรมเสรี เล่นตามมุม
- กิจกรรมสร้างสรรค์
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- กิจกรรมกลางแจ้ง
- เกมการศึกษา




วันศุกร์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำ 2 กิจกรรม
- กิจกรรมแรก ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละเท่าๆกัน ออกเป็น 3 กลุ่ม จากนั้นให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม ออกไปจับฉลากหัวข้อเรื่องที่จะทำกิจกรรม
- กิจกรรมที่สอง ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5-6 คน ประดิษฐ์สื่อการสอนพีชคณิต

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

ความรู้ในครั้งนี้ คือ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ก็คือเด็กจะต้องรู้อะไรบ้าง เด็กจะต้องได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 บล็อก
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

   คุณภาพของเด็กเมื่อเรียนจบ
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
3. มีความรู้พื้นฐานทางเรขาคณิต
4. มีความเข้าใจในรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่1  ค.ป. 1.1 เข้าใจเกี่ยวกับจำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2  ค.ป. 2.1 เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระที่3  ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำบอกตำแหน่ง
               ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
สาระที่4  ค.ป. 4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
สาระที่5  ค.ป. 5.1 มีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ
สาระที่6  ค.ป. 6.1 การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อการ











วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่5


สำหรับวันนี้ครูเบียร์ติดประชุมเลยไม่ได้เรียนเกี่ยวกับทฤษฎี แต่ครูเบียร์ก็พยายามที่จะให้ความรู้เราสุดๆ โดยที่วันนี้ครูเบียร์ให้เราเรียนปฏิบัติ โดยเป็นปฏิบัติที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องรูปเลขาคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย โดย มีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ แบบ รูปเลขาคณิต ก็จะมี วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และอุปกรณ์ในการตกแต่งต่างๆ โดยที่มีหัวข้อว่าให้นักศึกษาเลือกรูปทรงเลขาคณิตคนละ 1 รูป ตัดแล้วมาติดลงบนกระดาษ A4 สีขาว แล้วทำให้เกิดเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตามความชอบและจินตนาการของแต่ละคน

ภาพผลงานในการทำงานวันนี้



สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ กระบวนการในการทำงานประดิษฐ์ การสร้างสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย วิธีและเทคนิกในการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ความรู้ที่ได้นั้นสามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริง และอาจจะนำความรู้นี้ไปต่อยอดทำเป็นงานในรูปแบบอื่นๆได้อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่4

   สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนองาน มีทั้งหมด 5 กลุ่ม  5 หัวข้อ ได้แก่
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เลขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

และสามารถสรุปความรู้ที่ได้รับ ดังนี้

1.จำนวน
   จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่างๆ ซึ่งคือสิ่งที่บอกจำนวนมากหรือน้อย 
การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์
จำนวนและการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนเชิงคุณภาพทางคณิตศาสตร์ 3-5 ปี

2.การวัด
   การวัด หมายถึง การหาคำตอบเกี่ยวกับระยะทาง เวลา น้ำหนัก การวัดระยะทาง การชั่งหรือการตวง โดยมีหน่วยวัดที่แน่นอน แต่ถ้าหากเป็นการสอนเรื่องการวัดกับเด็กแล้วการวัดจะไม่มีหน่วยที่แน่นอน จะเป็นอะไรก็ได้ ที่เด็กคิดและจินตนาการ

3.เลขาคณิต
   เลขาคณิต หมายถึง รูปร่าง รูปทรงทางคณิตศาสตร์ที่นำมาสอนเด็กปฐมวัย สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยการที่ครูจัดมุมการเรียนรู้ สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปเลขาคณิตมากขึ้น เช่น การจัดมุมบล็อก มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมุติ มุมคณิตศาสตร์ เป็นต้น
  ครูควรจะจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากของจริง โดยการจับ สัมผัส และเรียนรู้อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้เด็กได้มีอิสระในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เด็กก็จะเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ กระบวนการคิดในการแก้ปัญหาจากการเล่นเกม และเด็กก็จะเกิดจินตนาการและเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

4.พีชคณิต
   พีชคณิต เป็นอีกสาขาหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความยากและเข้าใจยากพอสมควร ถ้าครูผู้สอนไม่มีความรู้ที่แน่นจริงๆ พีชคณิต จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้าง ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ส่วน พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะเกี่ยวกับรูปแบบและความสัมพันธ์กันในรูปแบบของสิ่งที่มีรูปร่าง ขนาด หรือมีสีสันที่สัมพันธ์กัน เป็นต้น

 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและจำแนนหรือแบ่งกลุ่มที่มีความคล้าย ความแตกต่างกัน เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้จาก ตาราง การสาธิตให้เด็กได้ตอบคำถาม แผนภูมิ กราฟ หรือจะด้วยวิธีการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

   ความรู้ที่ได้รับ คือ ความรู้ทั้งหมดนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงต่อวิชาชีพครูในอนาคต เพราะเด็กจะต้องได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างเหมาะสม ความรู้นั้นจะต้องมีความสอดคล้องต่ออายุและพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วย ครูจึงมีหน้าที่จะต้องสอดแทรกคณิตศาสตร์เข้าสู่การเรียนในแต่ละวันของเด็กให้ได้มากที่สุด โดยที่เด็กจะได้รับความรู้อย่างถูกต้อง แต่จะไม่เน้นเป็นเนื้อหาสาระมากจนเกินไป เพราะเด็กในวันนี้เขาไม่ชอบอะไรที่เป็นการบังคับหรือการคิดตามหลัก แต่จะเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้อย่างอิสระจะดีกว่า ครูจึงควรมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากๆ เพื่อที่ครูจะได้ดูแลเด็กและสามารถสอน มอบความรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยได้ตามความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพมากในการสอนสูงสุด


ภาพบรรยากาศในการนำเสนองาน













วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่3

   การเรียนในวันนี้เป็นการเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาต่อจากการเรียนในสัปดาห์ก่อน

   หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการสัมผัส ซึมซับได้จากการเล่นและการเรียนรู้จากของจริง
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตสาสตร์ในชีวิตประจำวัน

จุดมุ่งหมาย

1.ให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจ
2.เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
3.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
4.เป็นการฝึกฝนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
5.เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ
6.ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1.การสังเกต
2.การจำแนกประเภท
3.การเปรียบเทียบ
4.การจัดลำดับ
5.การวัด
6.การนับ
7.รูปทรงและขนาด

คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

ตัวเลข - น้อย น้อยมาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขาว สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด







  สำหรับกิจกรรมในวันนี้ อาจารย์เบียร์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ให้วาดวงกลม 1 วง ขนาดประมาณเท่าลูกปิงงปอง แล้วให้เขียนตัวเลขที่ตัวเองชอบลงไป เสร็จแล้ว ขั้นต่อไปคือให้นำกระดาษสีต่างๆที่แจกนั้นมาทำเป็นกลีบของดอกไม้ในแบบของตนเอง โดยที่มีจำนวนกลีบตามตัวเลขที่ตัวเองเขียนลงไป ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ


ภาพผลงาน




    สิ่งที่ได้รับ คือ ไอเดียในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เด็กก็จะได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ง่ายและเกิดความรู้ โดยที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ คือ มีตัวเลข การนับ การคิดคำนวน เป็นต้น เด็กก็จะเกิดความสนุกสนานในการทำกิจกรรมและได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรมนันทนาการที่เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน