วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่4

   สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนองาน มีทั้งหมด 5 กลุ่ม  5 หัวข้อ ได้แก่
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เลขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

และสามารถสรุปความรู้ที่ได้รับ ดังนี้

1.จำนวน
   จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่างๆ ซึ่งคือสิ่งที่บอกจำนวนมากหรือน้อย 
การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์
จำนวนและการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนเชิงคุณภาพทางคณิตศาสตร์ 3-5 ปี

2.การวัด
   การวัด หมายถึง การหาคำตอบเกี่ยวกับระยะทาง เวลา น้ำหนัก การวัดระยะทาง การชั่งหรือการตวง โดยมีหน่วยวัดที่แน่นอน แต่ถ้าหากเป็นการสอนเรื่องการวัดกับเด็กแล้วการวัดจะไม่มีหน่วยที่แน่นอน จะเป็นอะไรก็ได้ ที่เด็กคิดและจินตนาการ

3.เลขาคณิต
   เลขาคณิต หมายถึง รูปร่าง รูปทรงทางคณิตศาสตร์ที่นำมาสอนเด็กปฐมวัย สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยการที่ครูจัดมุมการเรียนรู้ สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปเลขาคณิตมากขึ้น เช่น การจัดมุมบล็อก มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมุติ มุมคณิตศาสตร์ เป็นต้น
  ครูควรจะจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากของจริง โดยการจับ สัมผัส และเรียนรู้อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้เด็กได้มีอิสระในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เด็กก็จะเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ กระบวนการคิดในการแก้ปัญหาจากการเล่นเกม และเด็กก็จะเกิดจินตนาการและเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

4.พีชคณิต
   พีชคณิต เป็นอีกสาขาหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความยากและเข้าใจยากพอสมควร ถ้าครูผู้สอนไม่มีความรู้ที่แน่นจริงๆ พีชคณิต จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้าง ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ส่วน พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะเกี่ยวกับรูปแบบและความสัมพันธ์กันในรูปแบบของสิ่งที่มีรูปร่าง ขนาด หรือมีสีสันที่สัมพันธ์กัน เป็นต้น

 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและจำแนนหรือแบ่งกลุ่มที่มีความคล้าย ความแตกต่างกัน เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้จาก ตาราง การสาธิตให้เด็กได้ตอบคำถาม แผนภูมิ กราฟ หรือจะด้วยวิธีการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

   ความรู้ที่ได้รับ คือ ความรู้ทั้งหมดนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงต่อวิชาชีพครูในอนาคต เพราะเด็กจะต้องได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างเหมาะสม ความรู้นั้นจะต้องมีความสอดคล้องต่ออายุและพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วย ครูจึงมีหน้าที่จะต้องสอดแทรกคณิตศาสตร์เข้าสู่การเรียนในแต่ละวันของเด็กให้ได้มากที่สุด โดยที่เด็กจะได้รับความรู้อย่างถูกต้อง แต่จะไม่เน้นเป็นเนื้อหาสาระมากจนเกินไป เพราะเด็กในวันนี้เขาไม่ชอบอะไรที่เป็นการบังคับหรือการคิดตามหลัก แต่จะเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้อย่างอิสระจะดีกว่า ครูจึงควรมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากๆ เพื่อที่ครูจะได้ดูแลเด็กและสามารถสอน มอบความรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยได้ตามความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพมากในการสอนสูงสุด


ภาพบรรยากาศในการนำเสนองาน













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น